วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 มาตรฐานและเทคโนโลยีของระบบเครือข่าย(Network Topology and Standard)

โทโปโลยี (Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย ซึ่งก็หมายถึงลักษณะของการเชื่อมโยง สายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกต่าง ๆ ภายในเครือข่ายเข้าด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะคุณ สมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับ การใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
                  .โทโปโลยีแบบ BUS หรือ TREE
รูป
                   ในระบบเครือข่าย LAN โทโปโลยีแบบ BUS หรือ TREE นับว่าเป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยม ใช้กันมากในอดีต โดยในปัจจุบันจะมีโทโปโลยีแบบ STAR มาแทนที่ ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุก ชิ้นในโหมดในเครือข่ายจะเชื่อมต่อกับ สายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า "บัส" (BUS)
                  เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่ง เข้าสู่สายบัสในรูปแบบของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การ สื่อสารภายในบัสจะเป้นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมี เทอร์มิเนเตอร์(Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามา ยังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนของสัญญาณข้อมูลอื่นที่เดินทางอยู่ใน BUS สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อ เข้าสู่บัสจะไหลผ่านยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัสจะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลาย ทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลั้นผ่านไป จะเห็นได้ว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้ สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ 
                  การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือแบบ
                  1.ควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized)ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการ สื่อสารภายในเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ 
                  2.ควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิ ในการควบคุมการ สื่อสารแทนที่จะเป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการ สื่อสารส่ง-รับข้อมูล กันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น 
                  ข้อเสียอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบ BUS คือการไหลของข้อมูลที่เป็น 2 ทิศทางทำให้ระบุจุดที่ เกิดความเสียหายในบัสยาก และโหนดที่ถัดต่อไปจากจุดที่เกิดความเสียหายจนถึงปลายของบัสจะไม่สามารถทำ การสื่อสารข้อมูลได้ แต่โหนดที่อยู่ก่อนหน้าจุดเสียหายจะยังคงสื่อสารข้อมูลได้
                   สำหรับเครือข่ายแบบ TREE นั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS เพียงแต่ละโหนด ที่ต่อเข้ากับบัสสามารถมีโหนดย่อยต่อกิ่งก้านสาขาออกไปได้อีก โดยการสื่อสารของโหนดย่อยจะต้องสื่อสารผ่าน โหนดหลักก่อนเข้าสู่บัส
                  ตัวอย่างของเครือข่าย LAN ที่ใช้โทโปโลยีแบบ BUS ในการเชื่อมโยงการสื่อสารก็ได้แก่ Ethernet LAN เป็นต้น
                  .โทโปโลยีแบบ RING
รูป
                  เหตุที่เรียกการส่อสารแบบนี้ว่าเป็นแบบ Ring เพราะข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่ายจะไหลวนอยู่ ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย หรือ เทอร์มิเนเตอร์แบบ BUS ในแต่ละโหนดจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมา จากสายสื่อสารเพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไป ให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
                  ข้อดีของเครือข่ายแบบ Ring คือผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ โหนดพร้อมกัน โดย กำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะทำการตรวจ สอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่ การส่งผ่านข้อมูลใน เครือข่ายแบบ Ring จะเป็นไปในทิศทาง เดียวจากโหนดสู่โหนด จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
                  ส่วนข้อเสียคือถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนด ต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสารได้ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือขณะที่ข้อมูลถูกส่ง ผ่านแต่ละโหนด เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับทุก ๆ รีพีตเตอร์จะต้องทำการคัดลอกข้อมูล และตรวจสอบ ตำแหน่งปลายทางของข้อมุล อีกทั้งการติดตั้งเครือข่ายแบบ Ring ก็ทำได้ยากกว่าแบบ BUS และใช้สาย สื่อสารมากกว่า ตัวอย่างของเครือข่าย LAN ที่ใช้โทโปโลยีแบบ Ring ได้แก่ Token-Ring LAN เป็นต้น
                  .โทโปโลยีแบบ STAR
                  
                  จากเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉกดังรูป โดยมีศูนย์ กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมดทั้งภายใน และภายนอกเครือข่าย นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็น ศูนย์- ์กลางข้อมูลอีกด้วยโดยเจ้าเชื่อมต่อเข้ากับไฟล์เซิร์ฟเวอร์อีกที 
                  การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียว เท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล(แต่ใน อุปกรณ์รุ่นใหม่สามารถทำการสลับการทำงานและยอมให้ทำงานได้พร้อมกันคือ Switch HUB) โทโปโลยีแบบ STAR เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันเพราะติดตั้งง่ายและดูแลรักษาง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสีย หายก็ตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้
                  ข้อเสียของเครือข่ายแบบ STAR คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพงและ ถ้าศูนย์กลางถูกปิดหรือHUB ถูกปิดก็จะทำให้เครือข่ายทำงานไม่ได้เลย
                  .โทโปโลยีแบบ STAR wire Ring
                  
                  โทโปโลยีแบบ STAR wire Ring เป็นการนำเอาข้อดีของโทโปโลยีแบบ STAR และแบบ Ring มารวมกันเพื่อแก้ไขข้อเสียของทั้ง 2 แบบด้วย เครือข่ายแบบ STAR wire Ring 
                  โดยอาศัยรูปแบบการเชื่อมโยงแบบ Ring ทำให้สายสื่อสารสามารถเชื่อมโยงเข้ากับทุก ๆ โหนด ของเครือข่ายและเป็นการประหยัดสายสื่อสารด้วย การเชื่อมโยงของแต่ละคู่โหนดการสื่อสารจะถูกโยงเข้าสู่ศูนย์ กลางของเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับศูนย์กลางของเครือข่ายแบบ STAR ทำให้การสื่อสารทั้งหมดทั้ง ภายในและภายนอกเครือข่ายอยู่ในการควบคุมของศูนย์กลางเครือข่าย 
                  ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR wire Ring มีด้วยกันหลายข้อคือ
                  1. สามารถติดต่อสื่อสารได้ 2 ทิศทางแทนที่จะเป็นทิศทางเดียวตามแบบ Ring
                  2. ประหยัดสื่อสารเพราะใช้ลักษณะการเชื่อมโยงแบบ Ring
                  3. มีศูนย์กลางเครือข่ายเป็นตัวควบคุมการติดต่อสื่อสารข้อมูลทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย และสามารถเลือกติดต่อได้ครั้งละหลาย ๆ โหนด ซึ่งเรียกลักษณะการทำงานเช่นนี้ว่า Multi-station Access Unitหรือ MAU ซึ่งเครือข่ายแบบ STAR อย่างเดียวไม่สามารถทำได้
                  4. สามารถเลือกปิดสวิตซ์ หรือเส้นทางเข้าสู่โหนดใดโหนดหนึ่งได้ ทำให้ประหยัดเวลาที่จะต้องสูญ เสียไปกับการทำงานของรีพีตเตอร์ของโหนดนั้น ๆ ทำให้การสื่อสารข้อมูลเร็วขึ้นกว่าสายสื่อสารในเครือข่าย แบบ Ring อย่างเดียว
                   5. ในกรณีที่โหนดใดโหนดหนึ่งเกิดความเสียหาย สวิตซ์เปิด/ปิดของโหนดนั้น ๆ จะทำการตัดวงจร ของโหนดนั้นออกจากเครือข่าย และจะเชื่อมโยงสายสื่อสารข้ามไปยังโหนดต่อไปในลักษณะที่เรียกว่า การ Bypass ทำให้สายสื่อสารของวงแหวนไม่ขาดออกจากกัน
องค์กรในการจัดการมาตรฐาน(Standard Organization)
การมาตรฐาน (Standardization)
หมายถึง กิจกรรมในการวางข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาสำคัญที่มีอยู่หรือที่จะ เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึง
ความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้
  1. กล่าวโดยเฉพาะได้แก่ กิจกรรมที่ประกอบไปด้วยกระบวนการในการกำหนด การประกาศใช้ และการนำมาตรฐานต่าง ๆ ไปใช้
  2. ประโยชน์ที่สำคัญของการมาตรฐาน ได้แก่ การปรับปรุงความเหมาะสมของ ผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี และการบริการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ป้องกันไม่ให้มีอุปสรรคในทางการค้า และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในทางเทคโนโลยี


มาตรฐาน (Standard)
หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกัน และได้รับ ความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าววางกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติหรือลักษณะ
เฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้

หมายเหตุ : มาตรฐานควรตั้งอยู่บนผลที่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และประสบการณ์ โดยมุ่งการส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำนิยามของ มาตรฐาน ว่า มาตรฐาน คือ สิ่งที่ถือเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนด

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้กำหนดคำว่า "มาตรฐาน" ไว้ว่า
มาตรฐาน คือ ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเกี่ยวกับ
  1. จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  2. วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  3. จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อ หรือสิ่งบรรจุชนิดอื่นรวมตลอดถึงการทำหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุ หุ้มห่อหรือผูกมัดและวัตถุที่ใช้
    ในการนั้นด้วย
  4. วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบและวิธีชั่ง ตวง วัด อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  5. คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และหน่วยที่ใช้ในทางวิชาการอันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  6. ข้อกำหนดรายการอย่างอื่นอันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามที่รัฐมนตรีประกาศหรือตามพระราชกฤษฎีกา
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมายถึง สิ่งหรือเกณฑ์ทางเทคนิคที่กำหนดขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกณฑ์ทางเทคนิคนี้จะระบุคุณลักษณที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพของการ
นำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งจะรวมถึงวิธีการทดสอบด้วย เพื่อใช้เป็นเครื่องตัดสินว่าคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่

มาตรฐานชุมชน
มาตรฐานชุมชนกำหนดขึ้น เพื่อสนับสนุนการนำภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นมาพัฒนา และยกระดับการผลิตให้มีคุณภาพเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ตาม
โครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยสำนักงานฯ ให้การรับรองและแสดงเครื่องหมายรับรองคุณภาพ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
แก่ผู้บริโภคและสามารถขยายตลาดส่งออกจำหน่ายใน ตลาดวงกว้างได้มากขึ้น

มาตรฐานสำหรับระบบการจัดการ
นอกจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์แล้ว ยังมีมาตรฐานระบบการจัดการต่างๆ ซึ่งสามารถขอการรับรองได้ เมื่อหน่วยงานหรือองค์กร
นั้นๆ มีการพัฒนาระบบคุณภาพเป็นไปตาม ข้อกำหนด ของมาตรฐานแล้ว ก็สามารถขอการรับรองเพื่อเป็นการประกันความ
สามารถและคุณภาพที่เทียบเท่ามาตรฐานสากลได้

มาตรฐานระบบการจัดการ (Management System Standard)
คือ ข้อกำหนดหรือขั้นตอน ในการบริหาร กระบวนการทำงานต่างๆ ขององค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการ ดำเนินงาน และบรรลุตาม
วัตุประสงค์ที่วางไว้

ปัจจุบันมาตรฐานระบบการจัดการที่สำคัญและหน่วยงานทั่วโลกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่

มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000
ISO 9000 (Quality Management System : QMS) เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการบริหารงาน ในองค์กรที่นำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อพัฒนาองค์กรให้
มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ โดยสามารถนำไปใช้ได้ทุกองค์กร ทุกขนาดทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับ
ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบัน ISO 9000 : 2000 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ฉบับ คือ

ISO 9000 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - หลักการพื้นฐานและคำศัพท์
ISO 9001 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - ข้อกำหนด
ISO 9004 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - แนวทางการปรับปรุงสมรรถนะ
ISO 19011 : แนวทางในการตรวจประเมินระบบการบริหารงานคุณภาพ และ/หรือระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001
มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management System : EMS) เป็น มาตรฐานที่มีความสำคัญมากเพราะกำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนการรักษา
สิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน หรือองค์กร ที่ครอบคลุมถึงการจัดระบบ โครงสร้างองค์กร  การกำหนดความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการและการใช้
ทรัพยากรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการจัดการและ สร้างจิตสำนึกที่ดีร่วมกันในการรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งในหน่วยงาน และรวมไปถึงชุมชนใกล้เคียง เพื่อนำ
ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย

มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001
ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อเราทุกคนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง หน่วยงานหรือองค์กร
สมัยใหม่ในปัจจุบัน จึงหันมาใส่ใจในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรในกระบวนการทำงาน ต่างๆ กันมากขึ้น โดยการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง
ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรเองและ ชุมชนใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาการ ดำเนินงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบ
การที่เราจะมั่นใจได้ว่าสินค้ามีคุณภาพหรือไม่นั้น จำเป็นที่จะต้องนำไปทดสอบจากหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือและมีเครื่องมือในการทดสอบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่
ยอมรับ ซึ่งมาตรฐานที่นำมาใช้ในการกับหน่วยงานที่ให้บริการในเรื่องดังกล่าวได้แก่ มาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบตาม มอก.17025-
2543 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025

มาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร
มาตรฐานด้านอาหารนับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นประเทศส่งออกอาหารที่สำคัญ ของโลก การส่งออก
อาหารไปจำหน่าย และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้นั้น  จำเป็นต้องมีระบบการจัดการด้านอาหารที่เป็นที่ยอมรับ และระบบการวิเคราะห์อันตราย
และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System เป็นมาตรฐานสากลที่ยอมรับกัน
ทั่วโลกและ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น 

สถาปัตยกรรมเครือข่าย

(Network Architecture)

เมื่อมีการสื่อสารข้อมูลกัน นั่นคือย่อมต้องมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง
ติดต่อกันต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี ใน การ ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตราฐานก็คงดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไรในการสื่อสารข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามใน การ สื่อสาร ข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ที่ต่างผู้ผลิต หรือต่างรุ่น ก็อาจจะทำให้เกิดความแตกต่าง ในการกำหนด รูปแบบ ของข้อมูล และรูปแบบการส่งรับข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องคิดหาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการ เชื่อมโยง ความแตกต่างกันนั้นให้สามารถเข้าใจกันได้ แล้วลองนึกดูเล่นๆว่าถ้าในเครือข่ายการสื่อสาร ข้อมูลหนึ่งมี อุปกรณคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน 50 แบบ เชื่อมต่อกันเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน จะต้องใช้ ซอฟแวร์ที่พัฒนา มาระดับใดจะทำให้ทำงานได้อย่างราบรื่น
ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้องค์กรอิสระ หรือกลุ่มผู้ผลิตต่างๆ ได้พยายามพัฒนามาตราฐานการ
สื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ยึดเป็นแบบในการผลิตสินค้า และพัฒนาสินค้า ของตนให้เป็นระเบียบและเป็นระบบเดียวกัน หรือสามารถใช้ร่วมกันได้ แต่ก่อนที่จะกำหนดมาตราฐานหนึ่ง ขึ้นมา ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดโครงสร้าง หรือสถาปัตยกรรมของการสื่อสารข้อมูลขึ้นมาก่อน และก่อนที่ เราจะเริ่มทำการศึกษาถึงโครงสร้าง หรือ สถาปัตยกรรมการติดต่อสื่อสารข้อมูล เราจะมาทำการรู้จักคุ้นเคย กับศัพท์เทคนิค หรือนิยามที่สำคัญในการศึกษาเรื่องของสถาปัตยกรรมเครือข่ายกันก่อน
นิยาม
เลเยอร์ (Layer) เพื่อลดปัญหาความยุ่งยาก และสับสนในการจัดการติดต่อสื่อสารข้อมูล โครง
สร้างของการสื่อสารข้อมูลภายในอุปกรร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ (level) เรียกว่า เลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์จะมีขบวนการลำดับการทำงานของตนเอง และในแต่ละเลเยอร์จะมีหมายเลขลำดับ (N) ชื่อ รายละเอียด และหน้าที่การทำงานของตนแตกต่างกันออกไป
โปรโตคอล (Protocol) ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายมีคำศัพท์ที่มี
ความหมายใกล้เคียงอยู่ 2 คำ คือ เอนทิตี้ (Entity) และระบบ (System) อธิบายอย่างง่าย ๆ เอนทิตี้นั้น ได้แก่ แอปพลิเคชั่นโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล ไฟล์ข้อมูล เป็นต้น ส่วนระบบก็ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัล หรือรีโมทเซนเซอร์ เป็นต้น ในการที่เอนทิตี้จาก 2 แหล่งจะสามารถส่อสารกันได้นั้น เอนทิตี้ทั้งสอง ต้อง "พูดจาภาษาเดียวกัน" ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการกำหนดลักษณะการสื่อสาร รูปแบบและวิธีการสื่อสาร ดังนั้น คำ จำกัดความของโปรโตคอลก็คือ กลุ่มหรือเซ็ตของขั้นตอน รูปแบบ ลักษณะหรือวิธีการสื่อสารในการทำให้ ้เอนทิตี้สามารถสื่อสารกันได้
ในสถาปัตยกรรมเครือข่าย การสื่อสารกันระหว่างระบบหรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
โปรโตคอลแบบหนึ่งจะใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างเลเยอร์ชั้นที่ N ของเครื่องหนึ่งกับเลเยอร์ชั้นที่ N เดียวกัน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกเครืองหนึ่ง ซึ่งในระหว่างการสื่อสารข้อมูลกันจริง ๆ นั้น เลเยอร์ชั้น N ของอุปกรณ์ ทั้งสองจะทำการสื่อสารผ่านเลเยอร์ชั้นล่าง ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ "กายภาพ" ผ่านสื่อกลางในการสื่อสาร แต่ ด้วยแนวคิดแล้วจะเป็นสื่อสารกันโดยตรง ในแต่ละชั้น จะเรยกการวื่อสารแบบนี้ว่า "การสื่อสารแบบเสมือนจริง" (Virtual Communication)
อินเตอร์เฟซ (Interface) ในการอินเตอร์เฟซหรือการติดต่อสื่อสารระหว่างเลเยอร์ชั้น N และ
ชั้น N+1 หรือชั้นที่ N-1 โดยทั่วไปเลเยอร์ที่อยู่ชั้นล่างจะเป็นผู้ทำงานให้กับเลเยอร์ที่อยู่ชั้นบน ถ้าหากมีการ เปลี่ยนแปลงขึ้นในเลเยอร์ชั้นใด เลเยอร์ในชั้นอื่นๆ จะไม่มีผลกระทบกระเทือนเลยตราบใดที่อินเตอร์เฟซ ระหว่างเลเยอร์นั้นยังคงเหมือนเดิม
เซ็ต หรือกลุ่มของเลเยอร์ และโปรโตคอล และอินเตอร์เฟซรวมกันเรียกว่า
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)ซึ่งมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมเป็นดังรูป
ในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง Host A ไป Host B โดยผ่านระบบเครือข่าย ดูเสมือนว่า Host A
นั้นส่งข้อมูลไปยัง Host B แบบเลเยอร์ต่อเลเยอร์กันโดยตรง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนการส่งข้อมูลจาก Host A ไปยัง Host B จะทำเป็นลำดับดังรูปต่อไปนี้

M = Message ข่าวสารหรือข้อมูล H = Header ส่วนหัวของเฟรมข้อมูล T = Tailer ส่วนท้ายของเฟรมข้อมูล
รูป การส่งการรับข้อมูลผ่านชั้นเลเยอร์ของสถาปัตยกรรมเครือข่าย
จากภาพแสดงให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่แท้จริงของการสื่อสารข้อมูลระหว่าง ผู้ส่ง (Host A)
และผู้รับ (Host B) จะเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ข่าวสาร M ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์ข้อมูล จะเริ่มต้นการสื่อสารจากเลเยอรืชั้นบนสุดคือเลเยอร์ 7 โดย
ข่าวสาร M จะถูกส่งจากเลเยอร์ 7 ให้กับเลเยอร์ 6 โดยผ่านทางอินเตอร์เฟซ 6/7
2. เมื่อเลเยอร์ 6 ได้รับข่าวสาร M มาแล้ว จะทำการเปลี่ยนแปลงรหัสของข่าวสาร แล้วส่งต่อไปยัง
เลเยอร์ 5 โดยผ่านอินเตอร์เฟซ 5/6
3. เลเยอร์ 5 จะไม่ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรกับข่าวสาร M เพียงแต่จะช่วยควบคุมการสื่อสาร หรือ
การไหลของข้อมูล เช่น ถ้าเลเยอร์ 6ของเครื่องผู้รับยังไม่พร้อมที่จะรับข่าวสารจากผู้ส่งก็จะบกให้เลเยอร์ 5 ของเครื่องผู้ส่งให้หยุดรอ หรือ อาจจะให้ยกเลิกการส่งข่าวสารนั้น
4. เมื่อข่าวสารผ่านอินเตอร์เฟซ 4/5 จากเลเยอร์ 5 มายังเลเยอร์ 4 ก็จะแบ่งข่าวสาร M ออกเป็น
แพ็กเกจ M1 และ M2 เพื่อเตรียมส่งต่อให้กับเลเยอร์ 3 เพราะเลเยอร์ 3 ต้องการข้อมูลที่มีขนาดจำกัด นอก จากนั้นในเลเยอร 4 ยังมีการเพิ่มส่วนหัวของแพ็กเกจ(H) เพื่อกำหนดลำดับที่มาของแพ็กเกจเพื่ออำนวย ความสะดวกให้แก่ เลเยอร์ 4 ของเครื่องผู้รับในการจำแนกว่าแพ็กเกจใดมาก่อนมาหลัง เพื่อป้องกัน ความ ผิดพลาดในการรวมแพ็กเกจต่างๆ นั้นกลับมาเป็นข่าวสาร M ได้อย่างถูกต้อง
5. สำหรับเลเยอร์ 3 เมื่อรับแพ็กเกจข้อมูลมาจากเลเยอร์ 4 แล้วจะทำหน้าที่ตัดสินใจว่าแพ็กเกจ
ใดควรจะออกไปทางช่องทางสื่อสารไหน หรือเส้นทางใด และจะใส่บิตส่วนหัว H ของเลเยอร์ 3 เข้าไปกับ แพ็กเกจข้อมูลด้วย
6. เลเยอร์ 2 เมื่อรับแพ็กเกจข้อมูลจากเลเยอร์ 3 แล้วก็มีหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูลจาก
ต้นทางไปยังปลายทางให้ถูกต้องแน่นอน โดยเลเยอร์ 2 จะเพิ่มบิตส่วนหัว H และบิตปิดท้าย T ของตนเข้าไปกับ ข่าวสารเพื่อในการทำการตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการส่งข้อมูล โดยเลเยอร์ 2 ของ เครื่องผู้รับจะเป็นผู้ตรวจสอบ
7. เลเยอร์ 1 คือ เลเยอร์ที่ผู้ส่งจะทำการส่งข้อมูลออกจากเครื่องส่งไปจริงๆ จากต้นทางไปยังอีก
ปลายทางโดยผ่านทางสื่อกลางสื่อสาร
8. เมื่อข้อมูลต่าง ๆ ได้ส่งไปเครื่องผู้รับแล้ว ขั้นตอนการทำงานในแต่ละเลเยอร์ของเครื่องผู้รับก็จะ
ทำงานย้อนกลับกันกับการทำงานในเลเยอร์ชั้นเดียวกันของเครื่องผู้ส่งจากชั้นล่างสุดขึ้นไปชั้นบนสุด
แม้ว่าโครงสร้างของเครือข่ายจะแบ่งออกเป็นหลายเลเยอร์ แต่ในแต่ละเลเยอร์ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้น
ในลักษณะคล้ายคลึงกันคือ
- ปัญหาการเชื่อมโยงการสื่อสาร และการเชื่อมโยงเทอร์มินัล
- ปัญหาการส่ง - รับข้อมูลไม่ว่าจะเป้นในการเชื่อมโยงแบบ simplex, half-duplex,full-duplex
ซึ่งจะต้องกำหนดว่าจะใช้กี่ช่องทางการสื่อสารสำหรับ 1 เส้นทางการเชื่อมโยง
- ปัญหาการควบคุมการเกิดความผิดพลาด
- ปัญหาอัตราเร็วของการส่ง และรับข้อมูลไม่เท่ากัน
- ปัญหาการมัลติเพล็กซ์หลายช่องทางเข้าสู่ทางสื่อสารเดียว
ในการแบ่งโครงสร้างเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ และกำหนดหน้าที่การทำงานให้ ในแต่ละเลเยอร์
นั้นมีหลายองค์กรอิสระ และหลายบริษัทผู้ผลิตได้พยายามกำหนดรูปแบบมาตราฐานขึ้นใช้กัน และรูปแบบของ สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่ถือว่าเป็นมาตราฐานสำหรับระบบเปิดมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ สถาปัตยกรรมเครือข่าย รูปแบบ OSI ซึ่งกำหนดขึ้นโดยองค์กร ISO

มาตรฐานและเทคโนโลยีของระบบเครือข่าย

หน่วยที่3
มาตรฐานและเทคโนโลยีของระบบเครือข่าย
(Network  Topology and Standard)
สรุป
     การเชื่อมต่อสายสัญญาณสามารถทำได้หลายวิธี  ทำให้เกิดรูปแบบของระบบเครือข่ายขึ้นหลายแบบ  รูปร่างของระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันนี้เรียกว่า  สถาปัตยกรรมระบบเครือข่าย (Network  Architecture)  หรือโทโปโลยี (Topology)  รูปแบบการเชื่อมต่อในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมี 4 รูปแบบหลัก คือ การเชื่อมต่อแบบบัส (Bus  Topology)  การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (Ring  Topology)  การเชื่อมต่อแบบดวงดาว (Star  Topology)  และการเชื่อมต่อแบบผสม (Mixed  Topology)
     การออกแบบระบบเครือข่ายแบบต่างๆ  ต้องมีมาตรฐานที่จะเป็นแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่าย  ซึ่งมีหลายองค์กรมาตรฐาน เช่น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI), Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE), International Standards Organization (ISO)  ซึ่งมีการร่วมกันในการจัดมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO ร่วมกับ ANSI พัฒนา OSI Model (Open Systems Interconnection Model)  ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ระดับชั้น คือ
                              1. ระดับชั้นฟิสิคัล (Physical layer)
                              2. ระดับชั้นดาต้าลิงก์ (Data link layer)
                              3. ระดับชั้นเน็ตเวิร์ก (Network  layer)
                              4. ระดับชั้นทรานสปอร์ต (Transport  layer)
                              5. ระดับชั้นเซสชัน (Session  laye)r
                              6. ระดับชั้นพรีเซนเตชัน (Presentation  layer)
                              7. ระดับชั้นแอปพลิเคชั่น (Application  layer)
                     สถาปัตยกรรมเครือข่าย TCP/IP จะต่างจาก OSI คือมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น คือ
                              1. ระดับชั้นโฮสต์-ทู-เน็ตเวิร์ก Host-to-Network
                              2. ระดับชั้นอินเทอร์เน็ต (Internet  layer)
                              3. ระดับชั้นทรานสปอร์ต (Transport  layer)
                              4. ระดับชั้นแอปพลิเคชัน (Application  layer)


      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น